Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
พบผู้ป่วย “สมองล้า” หลังจากติดโควิด 2 ปี
หลังจากติดโควิด-19 ผู้ป่วย จะมีอาการ โรคลมบ้าหมู สมองเสื่อม และสมองล้า เพิ่มมากขึ้น
จากผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหรัฐ ได้รายงานไว้ว่า หลังจากที่ผู้ป่วย หายจากโรคโควิด-19 มักจะมีอาการ ติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจอื่นๆ อีกทั้งยังมีอาการ ลมบ้าหมู สมองเสื่อม และสมองล้า เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่ในข้อมูลงานวิจัย ชิ้นเดียวกันกับพบว่า ผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็ก ในช่วง 2 ปี หลังจากติดโควิด ไม่พบภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล แต่อย่างใด
ด้านทีมผู้เชี่ยวชาญ ยังกล่าวอีกว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 อาจจะทำให้เกิดอาการป่วยได้ง่าย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม ด้านทีมนักวิจัยเรื่องนี้ ยังคงต้องศึกษาและเก็บข้อมูงเพิ่มเติมให้ได้มากกว่านี้ เพื่อหาคำตอบให้ได้มากที่สุด ว่าเหตุใด ผู้ป่วยหลังจากติดโควิด จึงมีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นมาได้
ในอีกงานวิจัยก่อนหน้านี้ จำนวณหลายชิ้น ก็ได้มีข้อมูลระบุว่า ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่นั้น ในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากติดโควิด มีความเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพจิต และสมองมากขึ้น
งานวิจัยชิ้นนี้พิจารณาความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติ 14 ประเภทในผู้ป่วยจำนวน 1.25 ล้านคน ในช่วงเวลา 2 ปีหลังติดโรคโควิด โดยกลุ่มประชากรเหล่านี้อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับประชากรอีก 1.25 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มประชากรลักษณะใกล้เคียงกัน แต่มีอาการการติดเชื้อด้านระบบทางเดินอากาศแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด
สำหรับกลุ่มที่เป็นโควิด ในช่วงสองปีหลังการติดเชื้อ พบว่ามีอาการใหม่ ๆ เหล่านี้ : ภาวะสมองเสื่อม เส้นเลือดในสมองแตก และภาะสมองล้า ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ภาวะสมองล้า ในประชากรอายุระหว่าง 18-64 ปี โรคลมบ้าหมูและความผิดปกติทางจิตในเด็ก แม้ความเสี่ยง โดยรวมยังนับว่าน้อยอยู่ ยกตัวอย่างเช่นเด็ก 260 คน
จากจำนวน 10,000 คน มีความเสี่ยง ในการเป็นโรคลมบ้าหมูหลังโควิด ขณะที่เด็กที่ป่วยเป็นโรคทางทางเดินหายใจอื่นๆ มีโอกาสเป็นลมบ้าหมูประมาณ 130 คน จาก 10,000 คน ขณะที่ความเสี่ยง ที่จะเกิดความผิดปกติทางจิต หลังติดโควิดเพิ่มขึ้นแต่ถือว่าพบได้น้อยมาก โดยมีสัดส่วน 18 คน จาก 10,000 คน อาการผิดปกติบางอย่างที่พบได้น้อย
หลังผู้ป่วยเป็นโควิดมาแล้วสองปี ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ความผิดปกติทางจิตในผู้ใหญ่ ผลวิจัยพบว่าความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวลจะหายไป ในเวลาสองเดือน หลังผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ ศ.พอล ฮาร์ริสัน หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ “น่ากังวล” ที่พบอาการอย่างภาวะสมองเสื่อมและโรคลมชักบ่อยครั้งหลังผู้ป่วยเป็นโควิด แม้จะผ่านมาแล้วถึงสองปีก็ตาม แต่เขาเสริมว่ามันเป็น “ข่าวดี” ที่อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลหลังป่วยเป็นโควิดเกิดขึ้นเพียง“ระยะสั้นๆ ” และไม่พบอาการดังกล่าวในเด็ก นักวิจัยกล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะ “มองข้าม” ผลกระทบเหล่านี้
แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็น “คลื่นสึนามิ” และในบางกรณีอาจต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งอาจไปสร้างภาระเพิ่มเติมให้กับบริการทางสาธารณสุข สำหรับงานงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ได้วารสารจิตเวชแลนเซ็ต (Lancet Psychiatry) ไม่ได้ติดตามผู้ป่วยแต่ละคนตลอดช่วงเวลาสองปีหลังจากที่พวกเขาป่วยเป็นโควิด
สิ่งที่นักวิจัยทำคือการวิเคราะห์ จำนวนคนที่ได้รับการวินิจฉัย อาการใหม่สองปีหลัง จากที่พวกเขาป่วยเป็นโควิดแทน นอกจากนี้ ยังไม่ได้ดูความรุนแรง ของอาการแต่ละอย่าง หรือไม่ได้วิเคราะห์ว่าพวกเขามีอาการดังกล่าวยาวนานแค่ไหน ทั้งยังไม่ได้เปรียบเทียบว่า อาการที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย หลังจากเป็นโควิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
มีความคล้ายคลึงกันหรือไม่ แต่นักวิจัยไม่เรียกอาการเหล่านี้ว่าเป็น “ลองโควิด” หรือผลค้างเคียงจากการเป็นโควิดในระยะยาว แม้ว่าอาการสมองล้าหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและสมาธิเป็นอาการที่พบโดยทั่วไป งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดเมื่อฤดูหนาวที่ผ่านมา ทำให้เกิดอาการลองโควิดน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
ทว่าแม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อย่างเดลต้า แต่ยังพบว่าโอมิครอนทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะทางสมองและสุขภาพจิตได้เช่นเดียวกัน
“ความวุ่นวายทางสังคม”
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดชิ้นนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ กล่าวคือไม่ได้ชี้ว่าโรคโควิดทำให้เกิดความผิดปกติทางสมองและจิตใจได้อย่างไร แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งบอกว่าสามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะการเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก
ศ.เดวิด เมนอน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่าผลกระทบของการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะป่วยเป็นโควิด “เท่ากับการแก่ตัวลงถึง 20 ปี (ระหว่างอายุ 50 – 70 ปี)”
พอล การ์เนอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านกระบวนการวิจัยเชิงสังเคราะห์ในประเด็นสุขภาพโลกจากวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล (LSTM) กล่าวว่า โควิดเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนไปมาก
เขาเสริมว่าอาการสมองเสื่อมและอาการทางจิตที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยนั้น “น่าจะมาจากความวุ่นวายทางสังคมและสภาพความเลวร้ายที่เราต้องเผชิญกันอยู่ มากกว่าจะเป็นผลโดยตรงจากเชื้อไวรัส”
ขอบคุณ แหล่งที่มา : bbc.com
สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : olivepeak.com
Economy
-
หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด แพงขึ้น 2 เท่า
หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด เจอค่าตั๋วแพงขึ้น 2 เท่าแถมต้องตรวจ PCR ก่อนกลับประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดนักท่องเที่ยวจีนปี 66 อาจแตะ 4.65 ล้านคน ชี้เริ่มเห็นเข้าไทยช่วงไตรมาส 2 มองโอกาสการใช้เงินอาจไม่สูงดั่งหวัง เหตุเจอราคาตั๋วเครื่องบินแพง และต้องตรวจ PCR ก่อนกลับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดชาวจีนเที่ยวไทยในปี 2566 อาจแตะ 4.65 ล้านคน โดยการเร่งตัวของนักท่องเที่ยวจะเริ่มเห็นในช่วงไตรมาส 2 และยิ่งชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยค่าบัตรโดยสารเครื่องบินและประกันที่เพิ่มขึ้น คงทำให้การใช้จ่ายท่องเที่ยวในไทยของชาวจีนอาจไม่เพิ่มจากช่วงก่อนโควิด ภายใต้งบประมาณที่จัดสรรเพื่อการท่องเที่ยวเท่าเดิมจากการคาดการณ์ตลาดจีนเที่ยวไทยที่มาได้เร็วกว่าคาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2566 เป็น 25.5 ล้านคน (กรอบ 24-26 ล้านคน) ซึ่งจะสร้างเม็ดเงินสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องราว 1.07 แสนล้านบาท
การเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยในปีนี้จะเริ่มเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 และน่าจะก้าวกระโดดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินระหว่างจีนและไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จำนวนเที่ยวบินต่อวันจากจีนมาไทยอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าในระหว่างปี เมื่อเทียบกับประมาณ 1,035 เที่ยวบินในช่วงไตรมาสแรกปี 2566 หรือเฉลี่ยประมาณ 11-15 เที่ยวบินต่อวัน และเทียบกับในช่วงที่จีนปิดประเทศเฉลี่ยที่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้เที่ยวบินต่อวันในปี 2566 นี้อาจจะกลับมาราว 60-70% จากก่อนโควิด
อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดเส้นทางการบินจนถึง ณ ปลายปี 2566 อาจจะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 93 เที่ยวบินต่อวัน (รวมเช่าเหมาลำ) ในช่วงก่อนการระบาดของโควิดในปี 2562 เนื่องจากจำนวนชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศแม้เพิ่มขึ้นแต่อาจยังมีจำกัด และการจัดการด้านทรัพยากรรองรับคงต้องใช้เวลา อาทิ เครื่องบิน นักบิน พนักงานภาคพื้น เป็นต้น
สำหรับการใช้จ่ายต่อทริปในไทยของชาวจีนในปี 2566 อาจไม่เพิ่มหากเทียบกับก่อนโควิดในปี 2562 เนื่องจากชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวต้องกันค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบินและค่าประกันสุขภาพ) สูงขึ้น บนเงื่อนไขการตั้งงบประมาณการเดินทางตลอดทริปที่เท่าเดิมจากสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ที่ไม่ได้ดีขึ้น ยกเว้นว่านักท่องเที่ยวจะใช้เงินออมหรือเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในจีน แม้ว่าราคาบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างไทย-จีนได้ปรับลดลงมาอย่างมากเมื่อเทียบกับในช่วงที่จีนยังปิดประเทศ แต่ราคาบัตรของเส้นทางบินตรงยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนการระบาดของโควิดประมาณ 1.5 เท่า และสูงกว่า 200% ในเมืองที่ยังไม่มีเส้นทางบินตรง
เนื่องจากในช่วงของการเริ่มเปิดประเทศปริมาณผู้โดยสารยังจำกัด ขณะเดียวกัน เนื่องจากต้นทุนในธุรกิจสายการบินยังสูง โดยเฉพาะราคาพลังงานที่มีแนวโน้มกลับมาสูงขึ้นหลังจากจีนเปิดประเทศ ทำให้ราคาบัตรโดยสารน่าจะยังทรงตัวสูง นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่างประกันสุขภาพ และการตรวจ PCR ก่อนที่ชาวจีนจะเดินทางกลับประเทศ ซึ่งเบี้ยประกันอาจมีราคาหลักพันบาทหรืออาจสูงกว่านี้ขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาพำนักในไทย
ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวจีนมีงบการเดินทางเท่าเดิม ก็จะเหลือเม็ดเงินสำหรับการใช้จ่ายท่องเที่ยวน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงถัดๆ ไปของปี หากการระบาดของโควิดบรรเทาลงและผู้ประกอบการกลับมาทำการตลาดมากขึ้น ก็มีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายที่ต้องกันไว้นี้อาจจะลดลงและทำให้ชาวจีนมีเม็ดเงินใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีได้
สำหรับสิ่งที่ต้องติดตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนของต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ยุโรป หากสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจากปัจจุบัน และการท่องเที่ยวระยะไกลมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ชาวจีนที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยว จะเลือกไทยเป็นจุดหมายปลายทาง
โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เมื่อเส้นทางการบินกลับมาขยายตัว ควบคู่กับการทำการตลาดของหน่วยงานท่องเที่ยวและผู้ประกอบการมีมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าไทยถูกเลือกเป็นหนึ่งในประเทศนำร่องของการฟื้นฟูการเดินทางแบบกลุ่มขนาดใหญ่ คงจะทำให้ชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวในไทยเร่งตัวขึ้นก้าวกระโดดจากช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวของชาวจีนที่สำคัญ คือ ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน (ระหว่างเดือนก.ค.-ส.ค. ของทุกปี) และช่วงวันหยุดยาววันชาติจีน (ในช่วงวันที่ 1-7 ต.ค. ของทุกปี)
สำหรับทั้งปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยจะมีจำนวนประมาณ 4.65 ล้านคน หรือกลับมาประมาณ 42% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2562 อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลต่องบประมาณการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในไทยที่อาจจะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การใช้จ่ายของชาวจีนเที่ยวไทยสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องอาจจะมีมูลค่าประมาณ 1.86 แสนล้านบาท หรือกลับมา 36% ของการใช้จ่ายของชาวจีนเที่ยวไทยในปี 2562
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :
Latest News
The Thief of Bagdad – หนึ่งในจินตนาการที่น่ายินดีที่สุด
The Thief of Bagdad - หนึ...
พรีเมียร์ลีกออกแบบใหม่ชื่อชุดแข่งหมายเลขโลโก้ฤดูกาล2023-24
ผู้เล่นทุกคนในพรีเมียร์ลี...
นิวคาสเซิลชนะนอตทิงแฮมฟอเรสต์ด้วยจุดโทษอิซัคในช่วงท้าย
บทลงโทษช่วงทดเวลาเจ็บของอ...
โปรโมชั่น เกมส์ใหม่สล็อต Crazy Worm Treasure Hunt
Crazy Worm Treasure Hunt ...