บัตรทอง หรือการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในชื่อโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” กำหนดให้ สปสช. ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ไม่นานมานี้ สปสช. ออกมาเตือนภัยประชาชนว่ามีมิจฉาชีพหลอกดึงข้อมูลผ่านทางไลน์ @check-sith ย้ำว่าไม่ใช่ไลน์ของสปสช. เป็นการแอบอ้าง เป็นข้อมูลเท็จและเป็นข่าวปลอม สำหรับการช่องทางการตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพหรือสิทธิบัตรทองสามารถตรวจสอบได้หลายช่องทาง

บัตรทอง สปสช. เตือนมิจฉาชีพหลอกดึงข้อมูลผ่านทางไลน์

สิทธิบัตรทอง คืออะไร 

สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือที่เรารู้จักกันในชื่อบัตรทอง คือ สิทธิตามกฎหมายของคนไทย ที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรค ฯลฯ ไม่เพียงแต่ใช้ได้กับกับการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ยังสามารถใช้ได้กับแพทย์แผนไทย รวมไปถึงแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ตามกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ 

การเข้าต้องการเข้ารักษาโดยใช้สิทธิบัตรทอง สามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลของทางภาครัฐ หรือสถานพยาบาลที่เข้าร่วมการใช้สิทธิ จากนั้นแสดงบัตรเพื่อขอเข้ารับการรักษาตัวพร้อมกับบัตรประชาชน หากสนใจและยังลังเลที่จะสมัคร สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมสิทธิประโยชน์รวมถึงหากต้องการย้ายสิทธิทำอย่างไร ได้ที่เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลที่เข้าร่วม เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างลงตัว ที่สำคัญปัจจุบันบัตรทองก็ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนมาเสมอ ดังนั้นในอนาคตภาครัฐอาจจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ ของบัตรให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

แนวทางการใช้งานสิทธิบัตรทองมี ดังนี้ 

  1. ติดต่อหน่วยบริการประจำตามสิทธิ 
  2. แสดงความจำนง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแก่เจ้าหน้าที่ 
  3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเข้ารับบริการ 

ผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรทองคือใครบ้าง

หลายคนอาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท จะคุ้มครอง ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งหากขยายความสิทธิบัตรทองจะครอบคลุมสิทธิ์แก่ คนไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจใด ๆ รวมไปถึงยังไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง เช่น  

  • เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่ 
  • บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน) 
  • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ 
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ฯลฯ 

เช็กสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ได้ที่  

  1. สอบถามด้วยตัวเองที่ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลใกล้บ้าน, สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด, สำนักงานเขต, หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) 
  2. โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาทต่อครั้ง) 
  3. ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.nhso.go.th 
  4. ตรวจสอบผ่าน Application สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง 
  5. LINE Official Account สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ 

บัตรทอง

สิทธิบัตรทองคุ้มครองอะไรบ้าง

จะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข โดยคุ้มจะครองบริการ ดังนี้  

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจและรับฝากครรภ์
  4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 
  5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 
  6. การทำคลอด 
  7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 
  8. การบริบาลทารกแรกเกิด 
  9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 
  10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 
  11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 
  12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 
  13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม 
  14. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด 
  15. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์ 
  16. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน 

ข้อดีและข้อเสียของการใช้บัตรทอง

1. รับบริการตรวจรักษาอย่างครอบคลุมทุกโรค แค่ใช้บัตรทอง ก็สามารถตรวจและทำการรักษาได้อย่างครอบคลุมทุกโรค โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงการถอนฟัน อุดฟัน การทำฟันปลอมฐานพลาสติกหรือการใส่เพดานเทียม ในเด็กที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่อีกด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้กับโรงพยาบาลรัฐทั่วไป ดังนั้นหากใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคอะไรหรือไม่ หรือต้องการตรวจสุขภาพประจำปี แค่มีบัตรทอง 30 บาท ก็สามารถตรวจโรคได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

2. รับการผ่าตัดทุกโรคและการทำคลอด บัตรทอง ให้สิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดอย่างครอบคลุมทุกโรคและการทำคลอด ซึ่งให้สิทธิไม่เกิน 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำหมันและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องผ่าตัด สามารถใช้สิทธิ 30 บาท เพื่อการรักษาด้วยการผ่าตัดได้เลย

3. ให้สิทธิค่าห้อง ค่าอาหาร กรณีผู้ป่วยสามัญ รับสิทธิประโยชน์สบายๆ เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องหรือค่าอาหาร แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกรณีผู้ป่วยสามัญเท่านั้น ผู้ที่มีบัตรทอง จึงไม่ต้องกังวลกับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในกรณีค่าห้องและค่าอาหารเพิ่มเติมนั่นเอง รู้แบบนี้แล้วอย่าพลาดที่จะใช้สิทธิเด็ดขาด

4. คุ้มครองดูแลสุขภาพเด็ก ให้การคุ้มครองและดูแลสุขภาพเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิด ซึ่งส่วนใหญ่หลังคลอดบุตรทางโรงพยาบาลจะทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคให้ทันที และให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมทุกโรค รวมถึงการบริการด้านการเสริมพัฒนาการของเด็กและภาวะโภชนาการด้วย หรือกล่าวง่ายๆ เลยก็คือ ให้การดูแลสุขภาพเด็กอย่างครบวงจรเลยนั่นเอง

5. บริการให้คำปรึกษา รับบริการให้คำปรึกษา ทั้งเรื่องสุขภาพ และเรื่องอื่นๆ ทั่วไป รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ข้อเสียของการใช้บัตรทอง

1. รักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐ บัตรทอง สามารถใช้รักษาได้เฉพาะกับโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งก็อาจจะสร้างความลำบากให้กับผู้ที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลรัฐมากทีเดียว

2. ไม่คุ้มครองการรักษาที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน จะให้ความคุ้มครองการรักษาในกรณีที่อยู่ในระดับความจำเป็นพื้นฐานเท่านั้น หากเกินจากความจำเป็นพื้นฐานแล้ว จะไม่สามารถใช้บัตรทองเพื่อการรักษาได้ ซึ่งกลุ่มบริการที่ไม่ได้รับความคุ้มครองในกลุ่มนี้ คือ การผสมเทียม เพื่อมีบุตร การรักษากรณีที่มีบุตรยาก การบริการทางการแพทย์เพื่อความสวยงาม เช่น ทำเลเซอร์รักษาสิว ทำศัลยกรรมความงาม เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเพศ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคบางอย่างที่เกินความจำเป็น การทำการรักษาอาการป่วยหรือโรคบางอย่าง ที่อยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

3. ไม่คุ้มครองการรักษาที่มีงบประมาณจัดสรรโดยเฉพาะ จะไม่ให้ความคุ้มครองในการรักษาที่มีงบประมาณจัดสรรให้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งได้แก่ โรคจิต หรืออาการป่วยทางจิต ซึ่งทางการแพทย์จำเป็นต้องรับไว้เพื่อการรักษาและฟื้นฟูจิตใจของผู้ป่วย โดยให้เป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน ส่วนนี้จะมีงบประมาณที่จัดสรรไว้สำหรับผู้ป่วยอยู่แล้ว การบำบัดผู้ติดยาเสพติด เป็นการบำบัดและรักษาอาการของผู้ติดยาเสพติด เพื่อฟื้นฟูให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด ซึ่งก็จะมีงบประมาณจัดสรรไว้ให้แล้วเหมือนกัน ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุทางรถ โดยมี พรบ. คุ้มครองอยู่ ซึ่งจะต้องใช้สิทธิ พรบ. ให้ครบก่อน จึงจะสามารถใช้สิทธิรักษา 30 บาทได้

4. ไม่คุ้มครองกรณีโรคเรื้อรัง จะไม่คุ้มครองในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรัง และโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นหากมีความจำเป็นจริงๆ เช่นเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงต้องรักษายาวนานขึ้น กรณีนี้อาจได้รับการรักษาโดยใช้สิทธิได้

 

จะเห็นได้ว่าบัตรทองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้จะเรียกว่าเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่จ่ายแค่ 30 บาท ก็รักษาทุกโรคแต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน และที่สำคัญคือสามารถใช้รักษาได้เฉพาะกับโรงพยาบาลรัฐและศูนย์บริการเช่นอนามัยเท่านั้น จึงอาจทำให้ผู้ที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลรัฐใช้สิทธิได้ลำบากมากขึ้น แต่อย่างก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็ถือว่าอยู่ในระดับที่คุ้มค่ามากพอสมควรเช่นกัน

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่ olivepeak.com

สนับสนุนโดย  ufabet369